วันพฤหัสบดีที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2553

VoIP

นิยามของ VoIP คือการนำเอา Technology ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์มาประยุกต์ใช้เพื่อให้ มนุษย์สามารถติดต่อสื่อสารทางเสียงโดยการส่งข้อมูลเสียงเป็น Packet ผ่านโครงข่าย IP แทนการส่งข้อมูลผ่านวงจร PSTN (Public Switching Telephone Network)
การที่เราได้นำสัญญาณเสียงมาผสมรวมเข้ากับสัญญาณข้อมูล เพื่อให้สามารถส่งผ่านไปบนระบบเครือข่ายเดียวกัน Protocol ที่มีใช้กันอยู่อย่างแพร่หลาย คือ Internet Protocol หรือที่รู้จักกันทั่วไปในนาม IP ซึ่งโดยปกติเราจะใช้ IP ในการส่งสัญญาณข้อมูลเท่านั้น แต่ด้วย Technology VoIP นี้ ทำให้เราสามารถพัฒนาการสื่อสารผ่านสัญญาณเสียง ให้สามารถสื่อสารผ่าน IP ได้ ข้อดีที่เกิดก็คือ การประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนของเครือข่ายโทรศัพท์ การผสมผสานระหว่างข้อมูลกับสัญญาณเสียงเข้าด้วยกัน Technology Voice over IP หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า “VoIP”
เนื่องด้วยในปัจจุบันการขยายตัวของระบบเครือข่ายสัญญาณข้อมูล หรือ Data Network มีอัตราการเติบโตที่รวดเร็วกว่าการขยายตัวของเครือข่ายสัญญาณเสียงค่อนข้างมาก จึงทำให้มีการนำ Technology ที่สามารถนำสัญญาณเสียงเหล่านั้นมารวมอยู่บนระบบเครือข่ายของสัญญาณข้อมูล และมีการรับ-ส่งสัญญาณทั้งคู่ได้ในเวลาเดียวกัน เพื่อเป็นการสะดวกและประหยัดค่าใช้จ่าย
สำหรับการใช้งาน Technology VoIP นั้น จริงๆ แล้วทุกๆ องค์กรสามารถนำ Technology นี้มาประยุกต์ใช้งานได้ แต่สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่น่าจะได้รับประโยชน์จากการนำ Technology VoIP มาประยุกต์ใช้งานมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มธุรกิจขนาดย่อม หรือ SME (Small/Medium Enterprise) รวมถึงกลุ่ม ISP (Internet Service Provider) ต่างๆ สำหรับกลุ่มธุรกิจ SME อาจจะต้องเป็นกลุ่มที่มีระบบเครือข่ายข้อมูลของตนเองอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นเครือข่าย Leased Line, Frame Relay, ISDN, MPLS หรือแม้กระทั่งเครือข่าย E1/T1 ก็ตาม รวมถึงมีระบบตู้สาขาโทรศัพท์ในการใช้งานด้วย การนำ Technology VoIP มาใช้งานนั้นจะทำให้องค์กรลดค่าใช้จ่ายในการใช้งานการสื่อสารสัญญาณเสียงไปได้อย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นค่าโทรศัพท์ทางไกลต่างจังหวัด หรือรวมถึงค่าโทรศัพท์ทางไกลต่างประเทศด้วยถ้าหากองค์กรนั้นมีสาขาอยู่ในต่างประเทศด้วย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการที่องค์กรใดจะนำ Technology VoIP มาประยุกต์ใช้งานนั้น ก็ต้องขึ้นอยู่กับจำนวนการใช้งานสัญญาณเสียงผ่านระบบโทรศัพท์ด้วยว่ามีการใช้งานมากน้อยแค่ไหน คุ้มค่าแก่การลงทุนในการพัฒนานำ Technology VoIP มาใช้หรือไม่
สำหรับกลุ่มธุรกิจ ISP นั้นสามารถที่จะนำ Technology VoIP นี้มาประยุกต์ใช้งานเพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสในธุรกิจของตนเองมากยิ่งขึ้น โดยทาง ISP ต่างๆ นั้นสามารถให้บริการ VoIP เพื่อเป็นบริการเสริมเพิ่มเติมขึ้นมาจากการให้บริการระบบเครือข่าย Internet แบบปกติธรรมดา หรือที่เราเรียกว่า Value Added Services ซึ่งถือว่าเป็นการสร้างความแตกต่างและเพิ่มทางเลือกในการให้บริการกับกลุ่มลูกค้าด้วย Internet Protocol หรือ IP

การสื่อสารข้อมูลในระบบ Internet ซึ่งในส่วนของการทำงานคร่าวๆ ของ Protocol IP นี้สามารถสรุปอย่างย่อได้ดังต่อไปนี้
  • ข้อมูลจะถูกแบ่งย่อยออกเป็นส่วนๆ หรือ Packet
  • แต่ละ Packet จะถูกส่งออกไปในเส้นทางที่อาจจะแตกต่างกันบนระบบ Internet
  • ข้อมูลแต่ละ Packet นั้นจะไปถึงยังปลายทางในเวลาและลำดับที่ไม่พร้อมเพรียงกัน
  • หลังจากนั้นจะมี Protocol อีกหนึ่งตัวเข้ามาเกี่ยวข้อง คือ Transmission Control Protocol (TCP) ซึ่ง TCP นี้จะเข้ามาช่วยเกี่ยวกับการเรียงลำดับข้อมูลที่มาถึงยังปลายทางนี้ให้อยู่ในลำดับและรูปแบบที่ถูกต้องเหมือนข้อมูลต้นแบบก่อนที่จะถูกส่งออกมา
  • Protocol IP นี้จะเป็น Protocol ในการสื่อสารแบบที่เรียกว่า Connectionless Protocol ซึ่งเป็นการสื่อสารที่จุดต้นทางและปลายของการสื่อสารไม่จำเป็นที่จะต้องสร้างการเชื่อมต่อ (Connection) ขึ้นมา ณ เวลาที่ต้องการทำการสื่อสาร
Voice Payload กระบวนการส่งข้อมูลบนโครงข่าย IP มีลักษณะสำคัญคือ การแบ่งข้อมูลออกเป็นส่วนย่อยๆ ที่เรียกว่า Packet ดังนั้นบริการ VoIP จึงต้องแปลงข้อมูลเสียงออกเป็น Packet ซึ่งมีกระบวนการดังนี้

Sampling

เสียงมีลักษณะเป็นสัญญาณ Analog แต่ข้อมูลที่ส่งต้องแปลงเป็นสัญญาณ Digital จึงต้องผ่านกระบวนการสุ่มข้อมูล ปกติจะสุ่มข้อมูลด้วยความถี่ 8000 sample/sec (ความถี่เสียงอยู่ระหว่าง 200 Hz-3400 Hz) โดย 1 sample แทนด้วย 8 bit
Quantization

ข้อมูลที่สุ่มมาซึ่งเป็นแบบ Continuous state จะแทนด้วยรหัสแบบ discrete state ขนาด 8 bit ดังนั้นจึงต้องปรับข้อมูลให้อยู่ในช่วงที่สามารถแทนค่าในช่วง 8 bit (28 = 256 ค่า ) ด้วยวิธี quantization

Encapsulation

กระบวนการนี้เป็นการนำเอาข้อมูลที่หลังผ่านการ Quantization มาแบ่งเป็น Packet เพื่อส่งแต่ละ Packet ไปยังจุดหมายปลายทาง เมื่อPacket ถึงปลายทางก็จะประกอบกันเพื่อให้เป็นข้อมูลเสียงถึงผู้รับต่อไป
ตัวอย่าง กระบวนการทำงานของ Technology VoIP ซึ่งมีขั้นตอนอยู่พอสมควรดังต่อไปนี้

Conversion to PCM (Pulse Code Modulation) 
ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการมีการแยกสัญญาณออกเป็นส่วนๆ เพื่อทำการตัดสัญญาณ Echo ออก ซึ่งกระบวนการนี้จะถูกจัดการโดย DSP (Digital Signal Processors) ในขั้นตอนแรกจะเป็นการแปลงสัญญาณ Analog ให้ไปอยู่ในรูปแบบ สัญญาณ Digital หรือที่เรียกว่า PCM
 
ในส่วนของสัญญาณที่เหลือนั้น ก็จะถูกแบ่งและจัดรูปแบบขึ้นมาใหม่ในรูปของ Frame ซึ่งกระบวนการนี้จะถูกจัดการโดยรูปแบบการบีบอัดที่เรียกว่า CODEC หลังจากกระบวนการนี้แล้ว Frame ของสัญญาณเสียงจะถูกสร้างขึ้น
 
ในกระบวนการนี้จะเป็นการแปลง Frame ของสัญญาณให้มาอยู่ในรูปของ Packet ซึ่งจะมีการเพิ่ม Header เข้าไปใน Packet โดยในส่วนของ Header นั้น ก็จะประกอบไปด้วยข้อมูลที่เรียกว่า Sequence Number และ Time Stamp หลังจากนั้น Packet นี้จะถูกส่งต่อไปที่ Host Processor
 
หลังจากที่ได้แปลงสัญญาณให้อยู่ในรูปของ Packet แล้ว ข้อมูลนั้นจะถูกนำมาวิเคราะห์และใส่ค่า IP Address ปลายทาง
 
หลังจากที่ได้ทำการใส่ค่าของ IP Address ปลายทางไปใน Header ของ Packet แล้วนั้น เมื่อ Packet เหล่านั้นไปถึงด้านปลายทาง ข้อมูล Header เหล่านี้จะถูกแยกออกเพื่อให้เหลือแค่ Voice Frame หลังจากนั้นก็จะทำการแปลงสัญญาณ Digital PCM ให้กลับมาเป็นสัญญาณรูปแบบ Analog ที่เป็นสัญญาณเสียงที่เราได้ยินกันอีกครั้งหนึ่ง

Error Correction

กระบวนการนี้จะเป็นกระบวนการที่ใช้ในการตรวจสอบและแก้ไขข้อผิดพลาดซึ่งอาจจะเกิดขึ้นระหว่างการส่งสัญญาณและนำมาซึ่งความผิดเพี้ยนหรือความเสียหายของสัญญาณจนทำให้เราไม่สามารถทำการสื่อสารอย่างถูกต้องได้

Standard of VoIP Technology
สำหรับมาตรฐานที่มีการใช้งานอยู่บน Technology VoIP นั้น มีอด้วยกันหลายมาตาฐาน แต่ที่นิยมมีอยู่ด้วยกันสองแบบคือ H.323 และ SIP ซึ่งมาตราฐานเหล่านี้เราเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า “Call Control Technology”
  1. H.323 Standard
  2. SIP Standard
  3. IP Multimedia Subsystem (IMS)
  4. Media Gateway Control Protocol (MGCP)H.323
  5. Real - Time Transport Protocol (RTP)
 H.323 Standard

สำหรับมาตรฐาน H.323 นั้น จริงๆ แล้วไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ใช้งานกับระบบเครือข่ายที่ใช้ Internet Protocol (IP) นอกจากนั้นมาตรฐาน H.323 ยังมีการทำงานที่ค่อนข้างช้า โดยปกติแล้วเราจะเสนอการใช้งานมาตรฐาน H.323 ให้กับลูกค้าก็ต่อเมื่อในระบบเดิมของลูกค้ามีการใช้งานมาตรฐาน H.323 อยู่แล้วเท่านั้น มาตรฐาน H.323 เป็นมาตรฐานภายใต้ ITU-T (International Telecommunications Union) ในตอนแรกนั้น มาตรฐาน H.323 ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อเป็นมาตรฐานสำหรับการทำ Multimedia Conferencing บนระบบเครือข่าย LAN เป็นหลัก ต่อมาในตอนหลังจึงถูกพัฒนาให้ครอบคลุมถึงการทำงานกับ Technology VoIP ด้วย มาตรฐาน H.323 สามารถรองรับการทำงานได้ทั้งแบบ Point-to-Point Communications และแบบ Multi-Point Conferences อุปกรณ์ต่างๆ จากหลากหลายยี่ห้อ หรือหลายๆ Vendors นั้นสามารถที่จะทำงานร่วมกัน (Inter-Operate) ผ่านมาตรฐาน H.323 ได้

H.323 Architecture

ระบบ H.323 กำหนดองค์ประกอบของหลายเครือข่ายที่ทำงานร่วมกัน เพื่อส่งมอบความสามารถด้านมัลติมีเดียที่สมบูรณ์แบบในการสื่อสาร องค์ประกอบเหล่านั้นคือ Terminals, Multipoint Control Unit (MCUs), Gateway, Gatekeepers, และ Border Elements และหน่วยควบคุม Multipoint และ Gateways มักจะหมายถึง endpints ไม่จำเป็นจะต้องมีองค์ประกอบทั้งหมด แต่อย่างน้อยจะต้องมี สอง Terminals เป็นองค์ประกอบที่สามารถสื่อสารระหว่างสองคน

H.323 Network Element

Terminal ในเครือข่าย H.323 เป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สุดในระบบ H.323 ซึ่งจะอยู่ในรูปแบบของ IP phone อย่างง่าย หรือ ระบบ videoconference ซึ่งเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพ ภายใน H.323 terminal เรียกว่า Protocol stack
Protocol stack เป็น Function ที่อยู่ภายใน H.323 ซึ่งเป็นการระบุหน้าที่การทำงานโดยระบบ H.323 Protocol stack จะรวมถึงการดำเนินการด้วยพื้นฐานของ Protocol ใน ITU-T แนะนำ H.225.0 และ H.245, และ RTP หรือ Protocol อื่นๆ ที่กล่าวมาข้างต้น

Gateway
Gateway เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยในการสื่อสารระหว่างเครือข่าย H.323 และเครือข่ายอื่นๆ เช่น PSTN หรือ ISDN
Gateway ทำหน้าที่ช่วยในการสื่อสารระหว่างเครือข่าย H.323 และเครือข่ายอื่นๆ เช่น PSTN หรือ ISDN และ Gateway ที่ใช้กันแพร่หลายในวันนี้เป็นผลพ่วงมาจาก PSTN เพื่อใช้ เชื่อมระหว่างเครือข่ายขนาดใหญ่ H.323 ภายในองค์กรที่ใช้ในกิจการ IP phone ยังใช้ Gateway เพื่อสื่อสารผ่านทางผู้ใช้บริการ PSTN

SIP (Session Initiation Protocol) Standard
มาตรฐาน SIP นั้นถือเป็นมาตรฐานใหม่ในการใช้งาน Technology VoIP โดยที่มาตรฐาน SIP นั้น ได้ถูกออกแบบมาให้ใช้งานกับระบบ IP โดยเฉพาะ ซึ่งโดยปกติแล้วเราจะแนะนำให้ลูกค้าใหม่ที่จะมีการใช้งาน VoIP ให้มีการใช้งานอยู่บนมาตรฐาน SIP มาตรฐาน SIP นั้นเป็นมาตรฐานภายใต้ IETF Standard ซึ่งถูกออกแบบมาสำหรับการเชื่อมต่อ VoIP มาตรฐาน SIP นั้นจะเป็นมาตรฐาน Application Layer Control Protocol สำหรับการเริ่มต้น (Creating), การปรับเปลี่ยน (Modifying) และการสิ้นสุด (Terminating) ของ Session หรือการติดต่อสื่อสารหนึ่งครั้ง มาตรฐาน SIP จะมีสถาปัตยกรรมการทำงานคล้ายคลึงการทำงานแบบ Client-Server Protocol เป็นมาตรฐานที่มี Reliability ที่ค่อนข้างสูง
SIP Proxy และ Stateful Proxy
SIP Proxy ตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐาน RFC 3261 หมายถึงกลไกลการทำงานอย่างหนึ่งในมาตรฐาน SIP ไม่ใช่ตัวอุปกรณ์ เช่น Asterisk หรือว่า SIP Server ทั่วไป ซึ่งในมาตรฐาน RFC 3261 นั้น SIP Proxy จะทำหน้าที่ฟอร์เวอร์ด Request ไปยังปลายทางหนึ่งแห่ง หรือหลายแห่ง จากนั้นรับ Response ที่ดีที่สุดจากปลายทางเหล่านั้นและฟอร์เวอร์ด Response กลับไปยังคนที่ส่ง Request มา

ในมาตรฐาน RFC 3261 ยังได้กำหนดความสามารถของ SIP Proxy ไว้เพิ่มเติมคือ มันสามารถส่งกระจาย Single Request ไปยังปลายทางหลายๆแห่งได้พร้อมๆกัน ซึ่งก็จะทำให้คนๆหนึ่งสามารถโทรหาคนหลายๆคนได้พร้อมๆกัน เบอร์โทรศัพท์ของคนเหล่านั้นก็จะดังพร้อมๆกัน นอกจากนั้นเมื่อ SIP Proxy มันส่ง Request ไปแล้วถ้ามันคิดว่า Response ช้าเกินไปมันก็สามารถยกเลิก Request ได้และส่ง Request ไปที่อื่นแทน ยกตัวอย่างเช่นเราโทรหาเพื่อนแต่เพื่อนไม่รับสายในเวลาที่กำหนด สายของเราก็จะถูกโอนไปเข้า Voicemail ของเพื่อนแทน มาตรฐาน RFC3261 ได้กำหนดรูปแบบการทำงานของ Proxy ไว้ 2 แบบ คือ Transaction Stateful และ Transaction Stateless โดยที่ Transaction Stateful Proxy จะบันทึกแทร็คของ Transaction State Machine (เป็น State Machine ของ 1 Server) สำหรับทุกๆ 1 Request ที่มันรับเข้ามา และหลายๆ Client State Machine (1 State Machine สำหรับแต่ละ Request ที่ฟอร์เวอร์ดไป) คำว่า "State" ใน "Transaction Stateful" หมายถึงข้อมูลที่ Proxy จะจำไว้ในขณะที่มันกำลังรับมือกับแต่ละ Request, กำลังรอคอย Response และกำลังรับมือกับ Response ที่กำลังมาถึง การจดจำข้อมูลนี้ทำให้ Transaction Stateful Proxy สามารถแยกแยะว่า Request อันไหนที่เป็นของใหม่อันไหนที่เป็นการส่งซ้ำ แล้วคอยรับ Response ที่สอดคล้องกับ Request นั้น (เลือก Response ที่ดีที่สุดส่งไป) และเพื่อให้แยกแยะเงื่อนไขที่ไม่สำเร็จซึ่งเกิดจากการที่ส่ง Request ไปแล้วแต่ไม่ได้รับ Response ใดๆกลับมาภายในเวลาที่กำหนด ในทางตรงกันข้าม Transaction Stateless Proxy จะไม่สร้าง Transacton State เมื่อฟอร์เวอร์ด Request ไป เพราะฉะนั้น Request ที่ถูกซ้ำไปใหม่จึงไม่แตกต่างอะไรกับ Request ใหม่ และต้องประมวลผลอีกครั้ง และการประมวลผลนั้นต้องสร้างผลลัพธ์ที่เหมือนกันไม่เช่นนั้นระบบโดยรวมจะทำงานผิดพลาด การใช้งาน Transaction Stateless Proxy ก็มีใช้อยู่เหมือนกัน โดยใช้ในงานที่ต้องการการทำ Routing ที่สำคัญ ซึ่ง Request จะถูกฟอร์เวอร์ดไปยังสถานที่หนึ่งและสถานที่นั้นจะไม่เปลี่ยนแปลง มี Stateful อีกแบบหนึ่งซึ่งมีการพูดถึงอยู่บ่อยเหมือนกัน ชื่อว่า Call-Stateful ซึ่ง Call-Stateful Proxy จะจำ INVITEs ที่สำเร็จ และเก็บบันทึก Track ของ Dialog Usages ที่มันสร้างจนกระทั่งมันถูกเทอร์มิเนตด้วย BYE ปกติมักจะใช้ Call-Stateful Proxy เพื่อทำหน้าที่ในส่วนควบคุมบนตัว Firewall เพื่อคอยเก็บสถานะการโฟลว์ของ VoIP แต่ในมาตรฐาน RFC 3261ไม่ได้พูดถึง Call-Stateful Proxy โดยทั่วไปเมื่อมีคนกล่าวถึง "Stateful Proxy" จะหมายถึง Transaction Stateful Proxy ตามที่กำหนดในมาตรฐาน RFC 3261

ตัวอย่าง Application การใช้งาน Technology VoIP

1. PBX to PBX Connection
ทั้ง 2 ฝั่งของสำนักงานจะสามารถใช้งานตู้สาขา PBX ของสำนักงานอีกฝั่งเปรียบเสมือนตู้สาขา PBX ของฝั่งตัวเอง Users ภายในไม่จำเป็นต้องทำการ Dial-out ออกไปบนระบบโทรศัพท์ PSTN เพื่อทำการเชื่อมต่อเข้ากับตู้สาขา PBX ของสำนักงานอีกฝั่ง
 
2. Long Line PBX Extension
เป็นการเชื่อมต่อที่สำนักงานใหญ่ขยายการเชื่อมต่อตู้สาขา PBX ไปที่สำนักงานสาขาที่ไม่มีตู้ PBX ใช้งานอยู่
ทางสำนักงานสาขาสามารถใช้งานตู้ PBX ผ่านทางสำนักงานใหญ่ได้เสมือนกับเป็นตู้สาขา PBX ของฝั่งตนเอง

 3. Teleworker/ Local Access
เป็นการเชื่อมต่อที่ยินยอมให้ Remote User ฝั่งสำนักงานใหญ่สามารถใช้งานโทรศัพท์เข้ามาที่สำนักงานใหญ่ แล้วใช้ระบบเครือข่ายของสำนักงานใหญ่เชื่อมต่อไปยังสำนักงานสาขาผ่าน Technology VoIP เพื่อสามารถใช้งานโทรศัพท์ในพื้นที่ของสำนักงานสาขาได้โดยเสียค่าบริการในอัตราของพื้นที่ของสำนักงานสาขานั้น

4. Service Provider CPE
ผู้ให้บริการต่างๆ เช่น ISP สามารถที่จะเสนอบริการเสริมต่างๆ ทางด้าน VoIP บนระบบเครือข่ายความเร็วสูงที่มีการใช้งานอยู่เดิมแล้ว

ใน VoIP ผู้ใช้ปลายทางสามรถใช้อุปกรณ์ในการสื่อสารด้วยเสียง 2 ประเภทคือ PC (Personal Computer) และโทรศัพท์ จึงแบ่งรูปแบบการติดต่อทั้งหมดดังนี้

รูปแบบการติดต่อทั้งหมดของ VoIP

PC-PC
ส่วนใหญ่จะเป็นการพัฒนาต่อจากโปรแกรมประเภท Instant Messaging ที่แต่เดิมเป็นการส่งข้อความเป็น real-time โดยเพิ่มฟังก์ชันในการพูดคุย ตัวอย่างโปรแกรมเช่น GoogleTalk, MSN เป็นต้น

PC-phone/phone-PC
ในการติดต่อประเภทนี้ PC ต้องติดตั้งโปรแกรมที่เรียกว่า softphone ซึ่งเป็นโปรแกรมที่จำลองโทรศัพท์บนคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถส่งข้อมูลเสียงไปยังปลายทางที่ไม่ใช่คอมพิวเตอร์ได้

สำหรับผู้ใช้งานโดยผ่าน PC มีอุปกรณ์ที่จำเป็นดังต่อไปนี้

  • ระบบปฏิบัติการบนคอมพิวเตอร์ เช่น Windows Linux
  • แผ่นวงจรเสียง (Sound card)
  • หูฟัง (Headset)
  • ไมโครโฟน (Microphone)
  • การเชื่อมต่ออินเทอร์เนตความเร็วสูง เช่น DSL หรือ บรอดแบนอินเทอร์เนต
  • Softphone
Softphone เป็นโปรแกรมที่จำลองการใช้งานโทรศัพท์จริงบนคอมพิวเตอร์ซึ่งสามารถติดต่อไป ยังปลายทางที่เป็นโทรศัพท์ได้ ปัจจุบันมีผู้ให้บริการด้วย Softphone หลายรายเช่น Skype, Teleo, Net2phone, MyJabber, Damaka

Phone-Phone
สำหรับโทรศัพท์ที่ใช้งานใน VoIP แบ่งออกเป็นสองประเภทคือ
• โทรศัพท์ปกติที่ต้องเชื่อมต่อกับ ATA (Analog Telephone Adapter)
• โทรศัพท์ที่สามารถใช้ติดต่อผ่านโครงข่ายไอพีได้ (IP Phone)

โทรศัพท์ปกติที่ใช้ ATA (Analog Telephone Adapter)
เนื่องจากโทรศัพท์ปกติที่ใช้งานตามปัจจุบันไม่สามารถเชื่อมต่อกับโครง ข่าย IP ได้โดยตรง จึงต้องแปลงข้อมูลของเสียงเป็น Packetโดยอาศัยอุปกรณ์ที่ชื่อ Analog Telephone Adapter (FXS Gateway) ซึ่งสามารถเชื่อมต่อ VoIP ทั้งProtocol SIP และ H.323 ผ่านหัวต่อ RJ-11 และ RJ-45 ได้ ปัจจุบันมีผู้ให้บริการ ATA หลายราย เช่น OvisLink, Sipura, D-Link, CiscoSystems เป็นต้น

IP phone
IP phone เป็นโทรศัพท์ที่รองรับการติดต่อผ่านโครงข่าย IP โดยเชื่อมต่อ Internet ผ่านทางหัวต่อ RJ-45 ดังนั้นจึงสามารถนำสาย LAN ต่อเข้ากับ IP phone ได้ทันที ปัจจุบันมีผู้ให้บริการ IP phone หลายราย เช่น Toshiba, Avaya ,CiscoSystems, Polycom เป็นต้น

VoIP Services
การติดต่อเสื่อสารที่เพิ่มขึ้น ในอุตสาหการรม โทรคมนาคม บริการ VoIP เป็นอีกบริการหนึ่งที่ มีราคาที่สมเหตุสมผลและให้คุณภาพเสียงสูง การติดต่อสื่อสารทั่วโลก กลายเป็นเรื่องง่ายด้วย Technology VoIP และโทรไม่ จำกัด ที่สามารถทำเมื่อใดก็ได้ ฟรีบริการโทรยังมีให้โดยบริการโทรศัพท์ VoIP ในบางประเทศ ขณะที่ในส่วนใหญ่ของประเทศที่ให้บริการนี้เป็นเจ้าหนี้และค่าใช้จ่ายจะใช้กับมันยังคงค่าใช้จ่ายได้มากน้อยและราคาถูกกว่าเมื่อเทียบกับวิธีการแบบเดิม ๆ ของโทรศัพท์ คุณลักษณะที่เสนอโดยบริการนี้จะโทรรอโทร ID แสดง voice mail, Call ถือและโทร ID Block หนึ่งในองค์ประกอบที่น่าสนใจที่สุดของคุณลักษณะนี้ 3 ทางโทรศัพท์และตอบรับโหมด ขั้นตอนการบริการเครือข่าย VoIP นี้ทำงานได้ดีที่สุดบนเครือข่าย Broadband ซึ่งคุณภาพดีกว่าของ Internet ที่มีคุณภาพสูง VoIP เป็นสัดส่วนโดยตรงกับประสิทธิภาพและความเร็วของ Internet

การบริการ Videoconference หรือ Videoteleconference
ระบบ Video Conference บนเครือข่าย VoIP นั้น เป็นอีก Technology หนึ่ง ที่สามารถสื่อสารได้ทั้งภาพและเสียงผ่านเครือข่าย IP (Internet Protocol) เป็นการส่งเสียง (Voice) ผ่านโครงข่ายที่ใช้ IP เพื่อให้ได้รับประโยชน์และมีความสะดวกมากที่สุด VoIP ได้เริ่มต้นให้กันอย่างกว้างขวาง เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลสนทนาระหว่างกันได้

ข้อดีของ VoIP

ในยุคเริ่มต้นของ Internet การส่งข้อมูลแบบ Packet ยังไม่มีประสิทธิภาพเหมือนเช่นปัจจุบัน ไม่มีการประกันว่า Packet ที่ส่งจะไปถึงปลายทางเมื่อไหร่ และ Packet มีโอกาสสูญหายระหว่างการส่ง ทำให้การส่งข้อมูลเช่น เสียง และ วิดีโอ ไม่เป็นที่นิยม แต่ในปัจจุบันที่ Internet มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทำให้การส่งข้อมูลเสียงมีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะติดต่อสื่อสารกันได้ การบริการ VoIP จึงเป็นที่สนใจ เนื่องจากมีข้อดีดังนี้

 ข้อดีของการนำ Technology VoIP มาใช้งาน

  • Cost Savings: การนำ Technology VoIP มาใช้งานนั้น เราสามารถนำมาประยุกต์ในงานได้กับระบบเครือข่ายการสื่อสารข้อมูลที่เรามีอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ Router หรือ Switch ก็ตาม ทำให้เราสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ เนื่องจากเราสามารถนำอุปกรณ์ที่มีอยู่เดิมมาใช้งานได้ และถ้าหากเรามีการนำ Technology VoIP มาประยุกต์ใช้งานในลักษณะการสื่อสารระยะทางไกล เช่นต่างจังหวัด หรือต่างประเทศ ก็จะทำให้เราสามารถประหยัดค่าบริการทางไกลของระบบโทรศัพท์แบบปกติได้อีกด้วย
  • Increase Productivity: การนำ Technology VoIP มาใช้งานนั้น จะทำให้เราสามารถนำอุปกรณ์ที่เรามีการใช้งานอยู่แล้ว เช่น Router, Switch หรือแม้กระทั่งตู้ PABX ก็ตาม นำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์เพิ่มขึ้นจากที่เป็นอยู่เดิม ซึ่งถือเป็นการนำอุปกรณ์เดิมมาใช้ประโยชน์ให้สูงสุดด้วย
  • Improved Level of Services: สำหรับองค์กรที่นำ Technology VoIP ไปใช้งานเพื่อเป็นการติดต่อสื่อสารกันระหว่างสาขาที่อยู่ในระยะทางไกลกันนั้น จะทำให้องค์กรได้ประโยชน์ในแง่ของข้อมูลข่าวสารต่างๆ ระหว่างองค์กรมากยิ่งขึ้น เนื่องจากมีการสื่อสารแลกเปลี่ยนข่าวสารกันระหว่างสาขาขององค์กรมากยิ่งขึ้น โดยที่ไม่ต้องกังวลในเรื่องของค่าใช้จ่ายของการสื่อสารทางไกลอีกต่อไป ทำให้แต่ละสาขาได้รับข่าวสารข้อมูลล่าสุดขององค์กรอย่างทันท่วงที และไม่ต้องมีการรอ ซึ่งอาจนำมาซึ่งการล่าช้าในการปฏิบัติงานและการบริการ
  • Reduce Operating Expenses: การนำ VoIP มาใช้งานนั้น ทำให้เราสามารถลดค่าใช้จ่ายในด้านต่างๆ ได้อย่างที่เราอาจจะไม่รู้ตัวด้วย ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายทางด้านค่าบริการโทรศัพท์ทางไกล ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญที่เรามีการนำ Technology VoIP นี้มาใช้งาน หรือรวมทั้งการที่เราสามารถลดค่าใช้จ่ายทางด้านบุคลากรที่จะมาดูแลในเรื่องของการให้บริการทางโทรศัพท์ได้อีกด้วย เพราะเราสามารถใช้แค่คนคนเดียวเพื่อให้บริการลูกค้าผ่านระบบโทรศัพท์กลางขององค์กรและเชื่อมต่อไปยังสาขาต่างๆ ด้วย Technology VoIP
ข้อดีสำหรับผู้ให้บริการ

  • ประหยัดโดยเป็นการจอง Bandwidth เฉพาะเท่าที่ใช้งาน การส่งข้อมูลของโทรศัพท์แบบ PSTN เป็นแบบ Oriented switching ซึ่งมีการจองช่องสัญาณตลอดการใช้งาน ทำให้สิ้นเปลือง Bandwidth เมื่อเทียบกับการส่งของมูลบนโครงข่าย IP ที่เป็นแบบ packet Switching
  • เป็นการนำไปใช้งานที่เป็นมาตรฐานแบบเปิดและสามารถทำงานระหว่างกันได้ ระบบอินเทอร์เนตเป็นมาตรฐานแบบเปิดเปิดซึ่งสามารถติดต่อสื่อสารได้โดย ไม่จำกัดระบบปฏิบัติการของผู้ใช้ ทำให้การส่งข้อมูลด้วยเสียงบน Internet สามารถเชื่อมต่อกันได้ง่าย
  • โครงข่ายจะส่งข้อมูลได้ทั้ง Voice และ Data ในระบบโทรศัพท์ยุคก่อน สามารถส่งข้อมูลที่เป็น Voice เท่านั้น แต่ Internet สามารถส่งข้อมูลอื่นๆนอกเหนือจาก Voice ได้
 ข้อดีสำหรับผู้ใช้ปลายทาง
  • ค่าใช้จ่ายในการโทรศัพท์ถูกลง 
  • ระบบอินเตอร์สามารถทำให้การติดต่อสื่อสารระหว่างประเทศมีราคาถูกกว่าการโทรศัพท์ระหว่างประเทศในอดีตมาก 
  • ความสามารถการทำงานหลากหลายยิ่งขึ้น 
  • ในระบบ VoIP มีฟังก์ชันการใช้งานเพิ่มหลายอย่าง เช่น ระบบ Call Center ระบบบันทึกเสียงระหว่างสนทนา (Voice Recording) ระบบฝากข้อความ Voicemails) ระบบจัดการฐานข้อมูลลูกค้า (Customer Relation Management) ระบบตอบรับ อัตโนมัติ (IVR) และรองรับการโทรราคาประหยัดผ่าน VoIP Operator ระบบการสร้างห้องประชุมสาย ทั้งยัง สามารถรับจำนวนสายซ้อนได้หลายสายไม่จำกัด สามารถระบุข้อมูลของปลายทางที่โทรเข้ามาไดh
ข้อเสียของ VoIP

  • ขาดทุนจากการให้บริการในช่วงขาด
  • ไม่มีอำนาจ VoIP เป็นโทรศัพท์ไร้ประโยชน์ดังนั้นในกรณีฉุกเฉินในระหว่างการตัดไฟที่จะสามารถข้อเสียสำคัญด้วย 
  • VoIP โทรฉุกเฉินมันยากที่จะหาคุณและส่งความช่วยเหลือในเวลา
  • บางครั้งในช่วงสายอาจมีช่วงเวลาของความเงียบเมื่อข้อมูลสูญหายขณะที่ถูก unscrambled
  • แฝงและการจราจร
  • ไม่ได้ใช้ Standard Protocol
ข้อเสียของ VoIP อาจจะรำคาญ แต่ผลกระทบที่ค่อนข้างจำกัด ร้องเรียนของ VoIP มักจะทนถ้าสายที่ใช้บริการฟรี เป็นเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าเราจะคาดหวังคุณภาพ VoIP จะตรงกับเทคโนโลยีโทรศัพท์แบบดั้งเดิม

5 คำแนะนำแด่ผู้ให้บริการ VoIP

ในช่วง 2-3 ปี ที่ผ่านมา ธุรกิจให้บริการ Voice over IP หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า “VoIP” มีอัตราการเติบโตสูงขึ้นมาก ล่าสุดไอดีซีคาดว่าอีก 5 ปีข้างหน้า อัตราการเติบโตโดยเฉลี่ยต่อปี (Compound Annual Growth Rate -CAGR) ของบริการ VoIP จะสูงถึงร้อยละ 27 โดยมีปัจจัยหนุนที่สำคัญ คือ ราคาค่าบริการ โทรศัพท์ทางไกลในประเทศและระหว่างประเทศที่ถูกลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้ใช้โทรศัพท์บ้าน (residential users) ที่ต้องการใช้บริการโทรศัพท์ราคาถูก สำหรับตลาดในประเทศไทย มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วจนมีมูลค่ารวมกว่า 5,000 ล้านบาทในปี 2547 โดยมูลค่าตลาดรวมทั่วประเทศของบริการที่เกี่ยวข้องคิดเป็น 1 ใน 3 ของรายได้จากบริการ โทรศัพท์พื้นฐาน (fixed line) ทั้งหมด ส่วนกลุ่มผู้ใช้ระดับองค์กร (enterprise users) บริการ VoIP ได้รับความนิยมมาระยะหนึ่งแล้ว โดยจะเห็นได้จากการขยายตัวของการติดตั้งระบบ VoIP ในองค์กร (IP Telephony) ที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในหน่วยงานภาครัฐ และสถาบันการเงิน เหตุผลหลักในการเลือกใช้งานTechnologyนี้ยังคงเป็นเรื่องของต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน และการจัดซื้อฮาร์ดแวร์โดยรวมที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ IP Telephony ยังมีขีดความสามารถในการรองรับ Technology สื่อสารใหม่ๆ หรือแอปพลิเคชันต่างๆ ที่พัฒนาขึ้นอย่างหลากหลายและต่อเนื่องอีกด้วย ซึ่งต่างจากในอดีตที่ผู้ ใช้ระดับองค์กรไม่ค่อยมั่นใจในประสิทธิภาพและความคุณภาพบริการ VoIP ปัจจุบันสถานการณ์เริ่มเปลี่ยนไป หลายองค์กรประสบความสำเร็จในการนำTechnology นี้มาใช้งาน อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผู้ให้บริการ VoIP ในประเทศไทยได้พยายามอย่างมากที่จะขจัดความกังวลดังกล่าว แต่ก็ยังมีองค์กร หลายแห่งที่ยังไม่มั่นใจในเรื่องประสิทธิภาพและคุณภาพของบริการ VoIP อยู่เป็นจำนวนมาก ผลสำรวจด้านสื่อสารและโทรคมนาคมของไอดีซีระบุว่า องค์กรธุรกิจจำนวนมากในประเทศไทย โดยเฉพาะ อย่างยิ่งองค์กรขนาดใหญ่และบริษัทข้ามชาติที่มีพนักงานมากกว่า 1,000 คน ได้ทำการติดตั้งและใช้งานระบบ VoIP ภายในองค์กรของตนแล้ว โดยจัดซื้ออุปกรณ์จากผู้ผลิตที่มีความน่าเชื่อถือในระดับโลก แล้วดำเนินการติดตั้งและดูแล ระบบเอง (self-implemented) ไอดีซีคาดว่า ผู้ให้บริการโครงข่ายการสื่อสารและโทรคมนาคมในประเทศไทยจะ สามารถให้บริการ VoIP เต็มรูปแบบได้ตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นไป ในจำนวนนี้รวมถึงผู้บริหารโครงข่าย IP PBX สำหรับองค์กร

คำแนะนำสำหรับ ผู้ให้บริการโครงข่าย ที่กำลังเตรียมจะเป็นผู้ให้บริการ VoIP รายใหม่ 
  1. การให้ความรู้กับลูกค้า ถือเป็นเรื่องสำคัญของการให้บริการ ลูกค้าจำเป็นต้องเข้าใขถึงข้อดีข้อเสีย ขีดจำกัดในการให้บริการภายในการประหยัด เพราะจริงๆ แล้ว VoIP มีประโชนย์ที่คุ้มค่ามากกว่าที่ลูกค้ารับรู้ 
  2. Technology ระบบเปิด ผู้ผลิตอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับ VoIP มีแนวโน้มจะใช้ Technology ระบบแบบผสมผสานรวมกับระบบบริหารจัดการระบบเครือข่ายภายในองค์กร ดังนั้น ผู้ผลิตอุปกรณ์จึงต้องใช้ความละเอียดถี่ถ้วนในการวางแผนพัฒนาโครงสร้างผลิตภัณฑ์ของตน เพื่อให้สามารถ เชื่อมต่อกับ Technology ของผู้ให้บริการในส่วนอื่นๆ ได้ ทั้งในส่วนของซอฟต์แวร์บริหารจัดการและอุปกรณ์เครือข่าย
  3. การพ่วงบริการอื่นๆ ในการนำเสนอบริการ VoIP เพราะความท้าทายไม่ได้หยุดอยู่ที่การให้บริการโทรทางไกลในราคาถูกหรือเป็น Technology ใหม่เท่านั้น แต่อยู่ที่ขีดความสามารถในการให้บริการแบบ Package (เสียง, ข้อมูล, ภาพ) ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเลือกรุปแบบ Package ที่สอดคล้องกับองค์กรของตนได้
  4. สร้างคุณค่าด้วยบริการเสริมระบบ VoIP ให้มีขีดความสามารถในการรอบรับ Technology และ Software ใหม่ๆ เช่น Integrated business collaboration tools และ Unified Messaging (ข้อความอัตโนมัติ) 
  5. ประสิทธิภาพต้องมาพร้อมกับความปลอดภัย ผู้ให้บริการต้องตระหนักและให้ความสำคัญกับประเด็นเรื่องความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับระบบ VoIP และต้องวางแผนเชิงป้องกันและแก้ไขอย่างรัดกุม
ประโยชน์ที่เกิดกับบุคคลธรรมดา

  1. ทำให้คนไทยได้ใช้โทรศัพท์ในราคาที่ถูกลง โดยเฉพาะโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศ ประโยชน์นี้มีผลโดยตรงต่อคนไทยครับ เมื่อก่อนการโทรทางไกลระหว่างประเทศมี กสท (การสื่อสารแห่งประเทศไทย ) ผูกขาดเพียงเจ้าเดียว ค่าโทรศัพท์จึงแพง โทรแต่ละครั้งก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก และเมื่อเทคโนโลยี VoIP เข้ามา ก็ทำให้ค่าโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศถูกลงมาก ตอนนี้โทรไปอเมริกาเริ่มต้นนาทีละไม่เกิน 50 สตางค์แล้วครับ สาเหตุก็เพราะค่าใช้จ่ายในการลงทุนต่ำมาก ค่าดำเนินงานก็ต่ำ โครงข่ายระหว่างทางก็ไม่ต้องลงทุนเอง เพราะอาศัยโครงข่ายอินเตอร์เน็ตที่มีอยู่แล้ว 
  2. เพิ่มช่องทางใหม่ๆในการติดต่อสื่อสารสมัยก่อนเรามีช่องทางในการติดต่อสื่อสารระหว่างกันไม่มากนัก เช่น โทรศัพท์ จดหมาย เป็นต้น แต่ในปัจจุบันที่ VoIP เข้ามามีบทบาท ทำให้เรามีช่องทางในการติดต่อเพิ่มมากขึ้น เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์รูปร่างแปลกๆที่ต่อกับสาย LAN แทนที่จะต่อกับเบอร์โทรศัพท์ (เรียกว่า IP Phone), WiFi Phone (รูปร่างคล้ายโทรศัพท์ไร้สาย แต่ใช้คลื่นความถี่เดียวกับ Wireless Lan 802.11a/b/g), Smart Phone, PDA ซึ่งสื่อสารโดยใช้ช่องสัญญาณของ WiFi เป็นต้น 
  3. ไม่เพียงแต่ได้ยินเสียง ยังเห็นหน้าคู่สนทนาได้อีกด้วย ที่ผ่านมาการติดต่อทางโทรศัพท์เรามักจะได้ยินแต่เสียงพูดเท่านั้น แต่ในปัจจุบันด้วยเทคโนโลยี VoIP เราสามารถเห็นหน้าของคู่สนทนาได้ด้วย (ติดตั้งอุปกรณ์ที่เรียกว่า Video Phone เพิ่มเติม หรือโปรแกรม Softphone ที่รองรับ Video) เป็นการเพิ่มอรรถรสในการติดต่อสื่อสารอีกรูปแบบหนึ่ง
ประโยชน์ที่เกิดกับองค์กร

  1. ลดค่าใช้จ่ายในการติดต่อลูกค้า หรือคู่ค้าทางธุรกิจ 
  2. สามารถติดต่อกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้ครั้งละปริมาณมากๆ 
  3. การติดต่อกับบริษัทสาขาได้ถูกลง 
  4. ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาประชุม 
  5. มีระบบสื่อสารภายในองค์กรโดยใช้งบประมาณลงทุนเล็กน้อย 
  6. เพิ่มมูลค่าให้แก่ธุรกิจ สินค้าและบริการ ได้ด้วยงบประมาณที่ไม่แพง
  7. ติดต่อสื่อสารระหว่างพนักงานในองค์กรโดยไร้ขีดจำกัด
โดยสรุป Technology VoIP นี้มีประโยชน์มาก ซึ่งคนไทยโชคดีที่รัฐบาลไม่ปิดกั้นเทคโนโลยีนี้ แต่อย่างไรก็ตามการโทรศัพท์ผ่าน VoIP ก็มีคุณภาพยังไม่เทียบเท่ากับการโทรศัพท์ผ่านช่องทางปกติ แต่ก็ไม่ใช่ว่าถึงกับแย่มากมาย กดโทรออก 10 ครั้ง ก็อาจโทรไม่ติดสัก 1-2 ครั้ง หรือหลังจากกดเบอร์โทรออกแล้วต้องถือสายรอนานขึ้น บางครั้งและนานๆครั้งที่โทรๆอยู่สายก็หลุด หรือถ้าเป็นองค์กรที่เชื่อมต่อผ่านอินเตอร์เน็ตและใช้ลิ้งค์เดียวทั้งวอยส์และดาต้า บางครั้งอาจมีปัญหาเรื่องเสียงขาดหายบ้าง เสียงสะท้อนบ้าง

 ปัจจุบันมีผู้ให้บริการโทรศัพท์หลายรายที่กระโดดเข้ามาให้บริการ VoIP ด้วย ได้แก่

  • TOT ให้บริการ "TOT NetCall"
  • True ให้บริการ "True NetTalk"
  • TT&T ให้บริการ "Call Cafe"
  • CAT ให้บริการ "Cat2Call, Cat2Call Plus"
และมีผู้ให้บริการรายย่อยได้แก่
  • EasySIP ของบริษัท อีซี่ ซิสเต็ม เทเลคอม จำกัด (http://www.thaisip.com/)
  • MouthMun ของบริษัท จัสมิน อินเตอร์เน็ต จำกัด (www.mouthmun.com)


-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 
Reference
[1] Introduction to DWDM technology, 2000 Cisco Systems, Inc.
[2] Supporting Next generation internet applications today, William Stalling, IT pro January/February 1999
[3] Next Generation Internet Wang Jilong, Ni Chunsheng, Wu Jianping Network Research Center, Tsinghua University, Beijing 100084 , China Guo Yunfei, Information Engineering University, Nanjing 210000
[4] Introduction to IP Version 6 Microsoft Corporation Published: September 2003
[5] Jonathan Davidson et al., Voice over IP Fundamentals, Cisco Press, Indiapolis, July 2006.
[6] Olivier Hersent et al., IP Telephony Deploying Voice-over-IP Protocols, John Wiley & Sons, England , March 2005.
[7] http://en.wikipedia.org/wiki/Voice_over_IP
[8] http://www.vajira.ac.th/kt/modules.php?name=News&file=article&sid=46
[9] http://www.bcoms.net/article/detail.asp?id=190
[10] http://www.voip4share.com/voip-f39/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น